นักศึกษาจบใหม่กำลังเผชิญความยากลำบากในการหางาน เนื่องจากนายจ้างมักต้องการผู้ที่มีประสบการณ์ หรือเลือกใช้ AI แทนการจ้างนักศึกษาจบใหม่ แม้ว่าบริษัทส่วนใหญ่จะประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยให้เหตุผลว่าขาดประสบการณ์และทักษะที่จำเป็น เช่น การทำงานเป็นทีม ทักษะภาษาอังกฤษ การแก้ปัญหา และมารยาททางธุรกิจ
ซึ่งนักศึกษาจำนวนมากมีความเห็นว่ามหาวิทยาลัยยังไม่มีการเตรียมความพร้อมสำหรับตลาดแรงงานอย่างเพียงพอ โดยพวกเขาพบว่าประสบการณ์จากการทำงานจริงให้ความรู้และทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้มากกว่าการศึกษาในห้องเรียน
สุดท้ายนี้เพื่อแก้ไขปัญหา TDRI หรือ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย ได้แนะนำให้รัฐบาลช่วยส่งเสริมการฝึกงาน และให้สถาบันการศึกษาเพิ่มรูปแบบการศึกษาแบบทวิภาคีหรือสหกิจศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ทำงานจริงและเพิ่มโอกาสในการหางาน
รายละเอียดเพิ่มเติม: youtu.be/zTUHkxRwH3g?si=MCqLVsi4AshPA47K
ผลสำรวจจากหน่วยงานทั้งระดับโลกและในประเทศพบว่าปัจจุบันเด็ก Gen Z ขาดทักษะทางด้าน Soft Skills เป็นจำนวนมาก เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น, การคิดวิเคราะห์, และความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งเป็นปัญหาในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
สถาบันการศึกษาหลายแห่งได้ปรับหลักสูตรเพื่อเน้นการพัฒนา Soft Skills ให้แก่นักศึกษา โดยการสอดแทรกเข้าไปในรายวิชาต่างๆ และใช้ AI เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะเหล่านี้ ซึ่งในปัจจุบันผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับ Soft Skills ในการรับพนักงานใหม่เป็นอย่างมาก โดยมองหาผู้ที่สามารถทำงานเป็นทีม, สื่อสารได้ดี, มีความคิดสร้างสรรค์, และปรับตัวได้ รวมถึงองค์กรต่างๆ มีวิธีการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้าง Soft Skills ให้แก่พนักงาน เช่น การสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี, การมีพี่เลี้ยง, การจัดกิจกรรมกลุ่ม, และการให้โอกาสในการทำงานที่ต้องใช้ Soft Skills
แต่ท้ายที่สุดแล้วการเสริมสร้าง Soft Skills ควรเริ่มต้นตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้เด็กๆ เติบโตขึ้นมาพร้อมกับทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการทำงานในอนาคต
รายละเอียดเพิ่มเติม: youtu.be/7BxQEQvSQPs?si=u3eqrcppvhrEOEED
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Soft-En) จากโครงการหลักสูตรนวัตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ (TU-PINE) ที่ได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมโครงการ Super AI Engineer Season 4 กับ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยดังต่อไปนี้
นายภูรี เพ็ญหิรัญ ได้รับรางวัล เหรียญทองการพัฒนาศักยภาพด้านปัญญาประดิษฐ์ และได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท
นายพีรภาส งอกผล ได้รับรางวัล ระดับ Super Designer
โดยมี อาจารย์ ดร. อัครวุฒิ ตาคม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีและชื่นชมกับความสำเร็จของนักศึกษาทั้ง 2 คน ในครั้งนี้!
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://engr.tu.ac.th/news/article/news-pr-superAI-20241028-01